วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม 2554

- คณิตศาสตร์ใช้เพื่อดำเนินชีวิตประจำวัน
- คณิตศาสตร์ใช้เพื่อแก้ปัญหา
- สมองทำงานสัมพันธ์กับพัฒนาการ
- คณิตศาสตร์ปฐมวัยใช้ รูปธรรม ส่วน ตณิตศาสตร์ประถมใช้ นามธรรม

อาจารย์แจกแผนคู่ละ 1 เล่ม แล้วให้ดูว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
คู่ของดิฉันได้
1. หน่วยไม้ดอกไม้ประดับ คณิตศาสตร์คือ เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
2. หน่วยกลางวันกลางคืน คณิตศาสตร์คือ เรื่องเวลา
3. หน่วยนกน้อย คณิตศาสตร์คือ พื้นฐานการบวก
4. หน่วยฤดูร้อน คณิตศาสตร์คือ ความสัมพันธ์ของจำนวนกับสัญลักษณ์
5. หน่วยพลังงาน คณิตศาสตร์คือ เรื่องใกล้ไกลของพลังงาน
6. หน่วยวันปีใหม่ คณิตศาสตร์คือ ความยาว รูปทรง
7. หน่วยวันพ่อ คณิตศาสตร์คือ เปรียบเทียบความยาว
8. หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา คณิตศาสตร์คือ นับปากเปล่า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1 วันที่ 06 ธันวาคม 2554

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ

- จัดแบบบูรณาการผ่านกิจกรรม
- โปรเจคแอพโพรช(Project Approach)
- ไฮสโคป (High/Scope)
- วอลดอร์ฟ(Waldorf)
- มอนเตสซอรี่ (Montessori)


ความรู้เพิ่มเติม
ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
1.การจำแนกประเภท
2.การจัดหมวดหมู่
3.การเรียงลำดับ
4.การเปรียบเทียบ
5.รูปร่างรูปทรง
6.พื้นที่
7.การชั่งตวงวัด
8.การนับ
9.การรู้จักตัวเลข
10.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11.เวลา
12.การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่