วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 14

สอบสอน หน่วยเรื่อง "บ้านของฉัน"
ดิฉันได้สอนวันพุธ เรื่อง จำนวนห้องภายในบ้าน



ขั้นนำ
- ให้เด็กๆท่องคำคล้องจองเรื่อง "บ้านของฉัน"
"บ้านของฉัน"


บ้านของฉัน มีห้องมากหลาย


ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก


ทุกคนสุขสบาย เพราะมีห้องมากหลาย



ขั้นสอน


- ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงห้องในคำคล้องจอง



- ให้อาสาสมัครออกมาเล่าว่าบ้านของตัวเองมีห้องอะไรบ้าง


ขั้นสรุป



- ให้เด็กดูโมเดลรูปบ้านแล้วถามว่า มีห้องอะไรบ้าง ภายในห้องมีของใช้อะไรบ้าง























บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 13

อาจารย์นัดสอบสอนวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555
อาจารย์ให้ดูการสอนแบบโครงการ(Project Approach)ของโรงเรียนเกษมพิทยา
กรอบพัฒนาการและกิจกรรมโดยใช้โครงการ
หน่วยรถยนต์
ด้านสติปัญญา
- กิจกรรมสำรวจรถในโรงเรียน
- กิจกรรมนับรถ/แยกประเภท
- กิจกรรมทัศนศึกษา ที่ศูนย์เบ๊นซ์ทองหล่อ
- กิจกรรมสำรวจเครื่องยนต์
- กิจกรรมนั่งรถชมวิว
- กิจกรรมสำรวจสีของรถยนต์
- ทำป้ายสัญญาณจราจร
ด้านสังคม
- ร้องและเต้นประกอบเพล
- เล่นบทบาทสมมุติ
- จัดโชว์รูมขายรถ
- สนุกกับการนั่งรถ
- ประดิษฐ์โมเดลรถร่วมกัน
ด้านอารมณ์จิตใจ
- ร้องและเต้นประกอบเพลง
- สนุกกับการฟังนิทาน
ด้านร่างกาย
- ตัดภาพ/ตัดกระดาษ
- ประดิษฐ์รถจำลอง
ในการจัดการเรียนการสอนครูต้องทบทวนความจำของเด็กในขั้นนำจากเพลง คำคล้องจอง ภาพตัดต่อเป็นต้น
ในขั้นสอนครูต้องดึงประสบการณ์เดิมของเด็ก
ในการสอนแต่ละครั้งต้องเรียงลำดับขั้นตอนการสอนให้ถูกต้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 12

มารฐานทางด้านคณิตศาสตร์


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัดหาค่าปริมาณ เช่น การวัดส่วนสูง หรือการชั่งน้ำหนัก วัดระยะทาง หน่วยก็จะออกมาเป็นปริมาณกิโลเมตร การหาพื้นที่ การตวงให้ได้เรื่องของปริมาตร เช่น การตวงนม
สาระที่ 3 เรขาคณิต เรื่องของรูปทรง3มิติ ความกว้าง ความลึก 2 มิติ ความกว้างความยาว มิติเดียว เช่น ภาพ
-ตำแหน่ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง เหนือ ใต้ ออก ตก
ระยะทาง ใกล้ ไกล
สาระที่ 4 พีชคณิต รูปแบบและความสัมพันธ์ เช่น ชุดนักศึกษา
รูปแบบ คือ ตัวอย่างแบบเสมือนจริง จำนวน ตำแหน่ง รายละเอียดต่าง ๆ
สราะที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา เช่น รถเสียแล้วเด็ก ๆจะมีรถอะไรไปบ้าง แก้ปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ มีอยู่ 20บาท เด็ก ๆจะไปรถอะไรได้บ้าง

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 11

วันนี้อาจารย์ให้เข้าพบเป็นรายกลุ่ม เพื่อตรวจแผน และใส่คณิตศาสตร์ลงไปในแผน และให้เขียนรายชื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำสื่อ เป็นรายกลุ่ม ส่งอาจารย์แล้วอาจารย์จะพิจารณาอีกทีว่าควรใช้สิ่งไหนบ้าง

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 10

วันนี้อาจารย์ตรวจแผนอันเก่าที่นักศึกษาเอาไปแก้จากครั้งที่แล้ว

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 9

วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนของแต่ละคน
โดยที่ขอดูแผนอันเก่าที่เอาไปแก้
ก่อนที่จะดูแผนอันใหม่
จากนั้นบอกวิธีการสอนว่าต้องสอนแบบไหน

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 8

อาจารย์ให้ส่งงานที่ได้สั่งให้ทำในอาทิตย์ที่แล้ว และถามว่าใครเป็นคนเข้ามาในห้องเรียนเป็นคนแรก
และถามว่าเกี่ยวข้องกันอย่างกับคณิตศาสตร์อย่างไร

มาตราฐานการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 7

- อาจารย์ถามว่าไปสังเกตการสอนที่โรงเรียนไหน ได้อะไรบ้ง มีอะไรที่เกียวกับคณิตศาสตร์บ้าง

- อาจารย์ได้สังงาน 4 ชิ้น มี ชื่อ,เลขที่,วัน,สีของวันที่ได้

- อาจารย์ให้ไปสมัครโทรทัศน์ครู แล้วดูว่าอันไหนเป็นคณิตศาสตร์บ้าง

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 6



ไปสังเกตุการสอนที่ โรงเรียนเกษมพิทยา วันที่ 5 - 19 มกราคม 2555



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

ไม่มีการเรียนการสอน หยุดชดเชยวันปีใหม่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

ทักษะที่สำคัญ
1.ภาษา
2.คณิตศาสตร์

ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดพัฒนาการจะมีอยู่ 4 ด้าน
- ด้านร่างกาย
- ด้านอารมณ์/จิตใจ
- ด้านสังคม
- ด้านสติปัญญา

บันทึกการเรียนรูครั้งที่ 3

สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เป็นลำดับ
1.การนับ
2.การรู้จักตัวเลข
3.การชั่ง ตวง วัด
4.รูปร่างรูปทรง
5.พื้นที่
6.การเพิ่มและลดจำนวน
7.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8.การเปรียบเทียบ
9การจัดหมวดหมู่
10.การจำแนกประเภท
11.การเรียงลำดับ
12.เวลา

นักทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ด้านสติปัญญา : เพียเจต์ ( Piaget )
-เด็กเกิดความพร้อมทางกระบวนการคิดที่เรียกว่า โครงสร้างทางสติปัญญา
-เด็กเรียนรู้จากการสัมผัสเเละการเคลื่อนไหว
-ประสบการณ์เดิมมีผลต่อการเรียนรู้เละการรับรู้ประสบการณ์ใหม่

ด้านสังคม : อิริคสัน ( Erikson )
-สิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการบุคลิกภาพ
-การอบรมเลี้ยงดู การให้ความรัก ความอบอุ่น จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสม
-เด็กควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการที่เหมาะสม

ด้านอารมณ์ - จิตใจ : ซิกมันต์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud )
-เด็กเเรกเกิดถึง 5 ปี มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของบุคลิกภาพ
-เด็กควรได้รับการตอบสนองความต้องการเเละความพึงพอใจตามวัยอย่างเหมาะสม
-ผู้ใหญ่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ

ด้านร่างกาย : กีเซลล์ ( Gesell )
-พันธุกรรมเเละสิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
-การเรียนรู้จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ถ้าเด็กมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม
-ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กเเต่ละบุคคลมีความเเตกต่างกัน